สำหรับวันนี้เรามาคุยกันเรื่อง อยากยกของสูงๆๆ แต่มีบางจุดที่เสาสูงธรรมดา จะวิ่งผ่านไม่ได้ต้องชนแน่ๆ เช่น ประตูโกดัง เตี้ย ลูกค้าบางท่าน ทำชั้นเก็บของ สองชั้น ต้องมีการมุดเข้าไปเก็บของด้านล่าง ซึ่งถ้าเอาเสาที่ยกเตี้ยมุดเข้าไปได้ แต่เวลาจะยกสูงๆ เพื่อวางของชั้นบน ก็ทำไม่ได้อีก หรือ บางทีมุดเข้าไปได้ แต่พอยกของใต้ชั้น หรือ ที่หลังคาเตี้ย เสาท่อนด้านในก็โผล่ชนหลังคาซะอีก แบบนี้จะทำยังไงดี!
วันนี้เรามีทางออกนะคะ ซึ่งโฟล์คลิฟท์ มีเสาสเปคพิเศษ เรียกว่าเสาฟูลฟรี( full free ) ซึ่งเสาประเภทนี้จะมีเสาตรงกลาง เวลายก เสาท่อนกลางจะยกก่อน จะไม่ทำให้เสาท่อนในโผล่ขึ้นเพื่อชนหลังคา หรือ เวลายกของในที่เตี้ยๆเช่น ในตู้คอนเทรนเนอร์ ในเต๊น ใต้ชั้นเก็บของเป็นต้น เสาฟูลฟรีมีทั้ง เสาแบบ 2 ท่อน และ 3 ท่อน ถ้าเสา 3 ท่อนฟูลฟรี จะเป็นการย่อเก็บเสาลงมาได้เตี้ยลงกว่าเสาปกติ ขณะยังไม่ยก ยกตัวอย่าง รถโฟล์คลิฟท์ HELI รุ่น CPCD25-Q22K2 ถ้าเราต้องการให้ยกสูงสุดที่ 4.5 เมตร ถ้าเป็นเสาสองท่อนปกติ ตอนยังไม่ยกงาวางที่พื้นเสาจะอยู่ที่ 2.8 เมตร และ เมื่อยกเสาท่อนด้านในจะโผล่ขึ้นทันทีทำให้เสี่ยงอันตราย เวลายกของวิ่งผ่านประตู ทีนี้เรามอลองดู เสา 3 ท่อน ฟูลฟรี ที่รถโฟล์คลิฟท์รุ่นเดิม ความสูงยกสูงสุดที่ 4.5 เมตร เท่าเดิม ขณะงาอยู่พื้นก่อนยกจะสูง 2.1 เมตร และ เมื่อยกเสาจะยกไม่โผล่ขึ้น จนกว่าจะยกสูงเกิน 1.1 เมตร แผงกันของตกถึงจะโผล่ขึ้นมา(สามารถถอดแผงกันของตกออกได้)
ซึ่งจะเห็นได้ว่า เสาสามท่อนค่อนข้างมีประโยชน์อย่างมาก ในการขนถ่ายสินค้าในที่เตี้ย หรือในตู้คอนเทรนเนอร์ แต่ข้อเสียก็มีเช่นกันมาดูกัน
1.มีเสาตรงกลางเป็นกระบอกไฮดรอลิค ที่อาจทำให้บังสายตาเวลาเสียบยกของ ทำให้ทัศนวิสัยอาจไม่ดีเท่าเสาธรรมดา
2.มีจุดให้ดูแลรักษาเพิ่มมากกว่าเดิม เพราะปกติจะไม่มีกระบอกกลาง ทำให้ไม่ต้องมีจุดที่เปลี่ยนซีลเพิ่มเติม หรือ มีโซ่เพิ่มขึ้น
3.การติดตั้งอุปกรณ์เสริมยากกว่าปกติ เพราะจะต้องมีการร้อยสายไฮดรอลิคผ่านเสากลางไปมา ทำให้ต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญตรงสาย
มาถึงตรงนี้ทุกท่าน น่าจะได้ไอเดียแล้วนะครับ ว่าเราควรจะใช้เสาประเภทใหน ให้เหมาะกับงาน หรือ หากไม่แน่ใจสามารถปรึกษาทีมงานเราได้ เรามีทีมให้ความรู้เกี่ยวกับโฟล์คลิฟท์ ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี
コメント